เคยตั้งคำถามบ้างไหมครับว่า เหตุใดปัจจุบันอาหารทะเลนั้นมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันคุณภาพของอาหารทะเลเหล่านั้นก็๋ลดลงเรื่อย ๆ เช่นกัน… ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายท่านคงได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรที่เสื่อมถอยลง ทั้งป่าไม้ที่ถูกทำลายจนกลายเป็นภูเขาหัวโล้น หรือแม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอใต้ท้องทะเลอย่าง “การทำประมงเกินขนาด” หรือ “การทำประมงอย่างทำลายล้าง” จนกระทั่งระบบนิเวศถูกทำลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้อวนที่มีขนาดตาถี่ทำให้จับสัตว์น้ำวัยอ่อนไปด้วย หรือการใช้ระเบิดจับปลา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อแนวปะการังซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของปลาน้อยใหญ่ทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ “สินค้าประมงอินทรีย์ ของโครงการประมงพื้นบ้าน – สัตว์น้ำอินทรีย์” จึงเกิดขึ้น เพื่อมาช่วยแก้ไขปัญหาระยะยาว เปลี่ยนการทำประมงอย่างทำลายล้าง ให้กลายเป็๋น “การทำประมงอย่างยั่งยืน” ซึ่งในวงการอาหารเอง ก็เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ยิ่งขึ้น จนทำให้หลายร้านอาหารเริ่มปรุงอาหารโดยใช้ “อาหารทะเลออร์แกนิก” หรือ “อาหารทะเลอินทรีย์” เป็นวัตถุดิบหลัก ส่วนผู้บริโภคก็เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จนกลายเป็นกระแสในการรับประทานอาหารทะเลที่มีการผลิดอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า “Sustainable Seafood” นั่นเอง

Sustainable Food

“Sustainable Seafood” เป็นลักษณะของการผลิตและจัดหาอาหารทะเลแบบยั่งยืน โดยมาตรฐานสินค้าประมงอินทรีย์การจับสัตว์น้ำจากแหล่งธรรมชาติ ตามเกณฑ์การรับรองของสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) คือ 

  1. ต้องเป็นสัตว์น้ำที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่มีความปลอดภัยต่อมลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรม การเกษตร หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางทะเล
  2. สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าใครเป็นผู้จับ และระบุแหล่งทำการประมงได้
  3. ต้องไม่มีการใช้สารเคมีทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นในขณะทำประมง การดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ และการขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค
  4. ต้องมาจากการทำประมงด้วยวิธีที่รับผิดชอบต่อธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม เช่น การจับสัตว์น้ำด้วยอวนตาใหญ่ ไม่จับสัตว์น้ำวัยอ่อน หรือสัตว์น้ำที่มีไข่นอกเปลือกหรือกระดอง

Sustainable Food

สรุปคือ “การทำประมงอย่างยั่งยืน” นี้เป็นการกำหนดโจทย์ให้กับชาวบ้านและนายทุน ว่าปลาทุกตัวต้องมาจากการทำประมงที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ถูกกฏหมายและกฎหมายและกติกาชุมชน เป็นการทำประมงที่ยั่งยืนและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารมากมายเริ่มเห็นประโยชน์ของการใช้วัตถุดิบอาหารทะเลที่ผลิตอย่างยั่งยืนมากขึ้น ส่วนผู้บริโภคเองก็เริ่มมองเห็นความสำคัญและหันมารับประทานอาหารทะเลออร์แกนิกกันมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นกระแสที่ดี อันจะส่งผลกระตุ้นให้ธุรกิจอาหารทะเลนั้นเติบโตไปในทิศทางที่ยั่งยืน ไม่ทำลายระบบนิเวศและส่งผลเสียต่อลูกหลานในอนาคต ล่าสุดห้องอาหารหลายแห่งก็เริ่มเข้าร่วมโครงการประมงพื้นบ้าน – สัตว์น้ำอินทรีย์ เพราะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยังเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ และต้องการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทะเลไทยอีกด้วย

Sustainable Food

ลิ้มลองอาหารไทยหลากหลายที่ปรุงจากสัตว์ทะเลที่ได้จากการประมงแบบยั่งยืนตามมาตรฐาน Sustainable Food ได้ที่เดียวที่ Erawan Tea Room โรงแรม Grand Hyatt Erawan


Erawan Tea Room

Grand Hyatt Erawan Bangkok

Open daily from 10:00 – 22:00 hrs.

More information or request Reservation 

Call : 02 254 9005 / LINE@ : @greatgastro 

Reserve Now





Mr.Ms.Mrs.